วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ทะเลสาบเดดซี

ทะเลเดดซี



ข่าวสารท่องเที่ยว บทความท่องเที่ยว
ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (ทะเลเกลือ) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ระหว่างเขตจอร์แดนและอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุดในบรรดาทะเลทั้งหลาย กล่าวคือต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางลงไปอีกประมาณ 400 เมตร ตอนเหนือเป็นของจอร์แดน ตอนใต้แบ่งเป็นของจอร์แดนและอิสราเอล แต่หลังสงครามอาหรับอิสราเอล กองทัพอิสราเอลยังคงครอบครอบพื้นที่ฝั่งตะวันตกทั้งหมดอยู่



ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร



ประวัติ


ชื่อ ทะเลมรณะ ในภาษาไทยปรากฏครั้งแรก ๆ ในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทย ภาษาอังกฤษถ่ายมาจากภาษาเดิมว่า Dead Sea มีประวัติย้อนไปอย่างน้อยก็สมัยเฮลเลน (323 - 30 ปีก่อนคริสตกาล) เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในไบเบิล เพราะเป็นยุคสมัยของอับราฮัม (บรรพบุรุษของชาวฮีบรูและอาหรับ) และการทำลายเมืองโสโดมและกอมอร์ราห์ (สองเมืองนี้ปรากฏในพระคัมภีร์เก่า กล่าวว่าถูกทำลายจากไฟสวรรค์ เพราะความชั่วร้ายของผู้คนในเมืองนี้ปัจจุบัน เมืองดังกล่าวคงจะจมในบริเวณตอนใต้ของทะเลเดดซี) แม่น้ำที่แตกสาขาออกไป เป็นทางหนีของกษัตริย์ดาวิด (กษัตริย์แห่งอิสราเอล) และภายหลังก็เป็นทางหนีของพระเจ้าเฮรอดที่หนึ่งมหาราช กษัตริย์แห่งยูดาย



ทะเลเดดซีกินเนื้อที่ส่วนต่ำสุดของถ้ำในทะเลจอร์แดน-ทะเลเดดซี (ยาว 560 กิโลเมตร) ซึ่งขยายออกไปจากทางเหนือของสันปันน้ำแอฟริกาตะวันออก เป็นภูเขาที่จมลงในเขตรอบเลื่อนทวีปขนานสองรอย คือทางตะวันออก ตามขอบที่ราบสูงโมอาบ ซึ่งมองจากทะเลสาบนี้เห็นได้ง่ายกว่ารอยเลื่อนตะวันตก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการยกตัว



ในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส (คือราว 208 - 66.4 ล้านปีที่ผ่านมา) ก่อนการเกิดถ้ำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ขยายตัวออกไปนั้น เคยครอบคลุมดินแดนที่ปัจจุบันเรียกซีเรียและปาเลสไตน์ พอผ่านมาถึงยุคไมโอซีน (23.7 - 5.3 ล้านปีที่ผ่านมา) ก้นทะเลยกตัวขึ้น ทำให้มีระดับสูงกว่าเดิมมาก



ทะเลเดดซีอยู่ในเขตทะเลทราย น้ำเค็ม ฝนตกก็น้อย และไม่สม่ำเสมอ ปีหนึ่งราว 65 มิลลิเมตร และเมืองเสโดม (ใกล้เมืองโสโดมในไบเบิล) ไม่มี



เหตุที่เรียกว่าเดดซีเพราะทะเลสาบนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเลเเห่งอื่นเลย มีเพียงเเม่น้ำจอร์เเดนที่ไหลลงสู่ทะเลเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปน้ำในทะเลนี้ระเหยขึ้นทำให้เกลือในทะเลสาบเดดซีตกค้างอยู่ในบริเวณเดิมน้ำในทะเลสาบเดดซีจึงมีความเค็มมากกว่าน้ำทะเลปกติถึง6เท่า ด้วยเหตุที่น้ำมีความเค็มมากขนาดนี้ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จึงเรียกทะเลสาบนี้ว่าทะเลสาบเดดซี มีความหมายว่าทะเลสาบมรณะ


วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

ธุดงค์ธรรมชัย


ธุดงค์ธรรมชัย สร้างบุญใหญ่น้อมถวายเป็นพุทธบูชา  

Inside ธุดงค์ธรรมชัย ตอน ฝึกตน บำเพ็ญสมณธรรม
โดย ทีมงาน dmc.tv 

พระธุดงค์ฝึกฝนอบรมตนเอง
 พระธุดงค์ทุกรูปผ่านการอบรมในโครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูปทุกหมู่บ้านจากทั่วประเทศไทย ได้รับการอุปสมทบทตามพระอุโบสถวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และได้ตั้งใจฝึกฝนตนเองตลอดโครงการอบรม 
 
 หลังจากอุปสมบทแล้วพระภิกษุในโครงการอุปสมบทหมู่ทุกรูปจะได้รับการฝึกฝนตนเองผ่านกิจวัตรต่างๆ เช่น บิณฑบาต กวาดลานวัด สวดมนต์ นั่งสมาธิ(Meditation) เจริญภาวนา ฯลฯ หลังจากจบโครงการแล้วมีผู้ที่มีศรัทธาต้องการจะบวชเป็นพระภิกษุต่อโดยยังไม่ลาสิกขาจำนวนหลายพันรูป
    พระธุดงค์ธรรมชัยจำนวน 1,128 รูป ได้รับการฝึกอบรมจากโครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป อุปสมบทถูกต้องตามพระธรรมวินัยจากวัดศูนย์อบรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ  เป็นเวลาอย่างน้อยกว่า 6 เดือน ทุกรูปต่างตั้งใจออกบวชเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลสความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ออกไปจากใจ หลังจากจบโครงการอบรมแล้ว พระทุกรูปได้มารวมกันที่วัดพระธรรมกาย ถือธุดงควัตรและฝึกฝนตนเอง เพื่อเป็นเนื้อนาบุญให้แก่ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายในการเดินธุดงค์ธรรมชัยที่กำลังจะมาถึงในเร็ววันนี้
ฝึกซ้อมเพื่อเดินธุดงค์
      ตลอดระยะเวลาการอบรมในช่วงก่อนเดินธุดงค์ธรรมชัยนั้น พระธุดงค์ท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมทุกวันอย่างตลอดต่อเนื่อง ได้รับการอบรมจากพระอาจารย์ทั้งด้านปริยัติ คือ ได้ศึกษานักธรรม ศึกษาพระวินัย คือ ศีล 227 ข้อของพระภิกษุ ได้ท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ ศึกษาพระไตรปิฏกเพื่อเป็นแก่นในการบำเพ็ญสมณธรรม ทั้งอบรมตนเองด้านปฏิบัติ คือได้ตั้งใจนั่งสมาธิเจริญภาวนา ฝึกฝนตนเองควบคู่ไปกับกิจวัตรประจำวันต่างๆ และหลายรูปมีผลทางด้านการปฏิบัติคือ ปฏิเวธ ได้มีใจที่สงบนิ่ง สัมผัสความสุขที่เกิดจากสมาธิ สั่งสมความบริสุทธิ์ในเส้นทางแห่งสมณะอย่างแท้จริง 


      พระธุดงค์ธรรมชัยได้สมาทานธุดงควัตร 2 ข้อ คือ เอกาสนิกังคะ สมาทานองค์แห่งผู้ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียว นั่นคือท่านจะฉันภัตตาหารมื้อเช้าเพียงมื้เดียว เพื่อนำเวลาที่เหลือจากการฉันไปฝึกฝนอบรมตนในกิจวัตรกิจกรรมต่างๆ
       และสมาทานธุดงควัตรข้อ ยถาสันถติกังคะ คือ สมาทานองค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามแต่ที่เขาจัดให้ คือ เมื่อเดินธุดงค์จาริกไปถึงที่ไหน ท่านก็จะพักในสถานที่ตามแต่ที่เจ้าของสถานที่จะจัดสรรให้ เพื่อให้ไม่เป็นภาระต่อเจ้าของสถานที่ ทั้งยังฝึกฝนตนเองให้รู้จักพอใจเพียงพอในสิ่งที่ตนได้รับ

   
 หลังจากจบโครงการอุปสมบทหมู่ฯแล้ว พระภิกษุทุกรูปได้มารวมกันสมาทานธุดงควัตร เข้าโครงการอบรมอย่างเข้มข้นทั้งร่างกายและจิตใจ ผ่านกิจวัตรต่างๆ ภาพนี้พระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกำลังตากผ้าให้เป็นระเบียบ เพราะผ้าจีวรของพระภิกษุหลายพันรูปที่นำมาตากรวมกัน หากตากไม่เรียบร้อยแล้ว ย่อมดูไม่งามตา และราวตากผ้าก็คงจะมีไม่พอใช้อีกด้วย
พระธุดงค์ต้องฝึกฝนอบรมตนเองทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ภาพนี้พระธุดงค์กำลังซ้อมบทสวดมนต์ให้จำได้คล่องปากขึ้นใจ ขณะสวดมนต์ก็ทำสมาธิตามเสียงสวดมนต์ด้วย
 พระธุดงค์ต้องฝึกฝนอบรมตนเองทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ภาพนี้พระธุดงค์กำลังซ้อมบทสวดมนต์ให้จำได้คล่องปากขึ้นใจ ขณะสวดมนต์ก็ทำสมาธิตามเสียงสวดมนต์ด้วย 
พระธุดงค์อยู่รวมกันจำนวนพันกว่ารูป เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการจัดการระบบระเบียบให้ดี ภาพนี้เต็นท์หรือกลดที่พระธุดงค์ท่านใช้จำวัตรวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบเป็นแถวเป็นแนว
 พระธุดงค์อยู่รวมกันจำนวนพันกว่ารูป เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการจัดการระบบระเบียบให้ดี ภาพนี้เต็นท์หรือกลดที่พระธุดงค์ท่านใช้จำวัตรวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบเป็นแถวเป็นแนว

     พระธุดงค์ยังได้ฝึกฝนการอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนพันกว่ารูป ซึ่งการอยู่ร่วมกันจำนวนมากนั้น หากการจัดระบบระเบียบไม่ดีแล้ว จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองในการใช้สอยปัจจัย 4 เป็นอย่างมาก เช่น หากระบบการล้างภาชนะไม่ดี ก็จะทำให้สิ้นเปลื้องน้ำอย่างมาก ดังนั้นนอกจากฝึกทางด้านจิตใจแล้ว ท่านยังต้องฝึกทางด้านร่างกายด้วย  คือ ฝึกเรื่องการใช้ปัจจัย 4 เช่น ฝึกฉันภัตตาหารในบาตรเพียงมื้อเดียว ฝึกดูแลเสนาสนะทั้งที่จำวัตร (ที่นอน) ดูแลผ้าจีวร การซักผ้าจีวร ตากผ้าจีวร ดูแลความสะอาดของห้องสุขา ห้องอาบน้ำ นั่นคือฝึกใช้ปัจจัยสี่อย่างรู้คุณค่าในสิ่งของที่ศรัทธาสาธุชนได้ถวายมา เพราะพระธุดงค์ทุกรูปต่างตระหนักดีกว่า ท่านใช้ชีวิตอยู่บนสิ่งของที่ญาติโยมจบหัวมาแล้วทั้งสิ้น

 
 ร่างกายต้องแข็งแกร่ง จิตใจต้องอ่อนนุ่ม , พระธุดงค์ทุกรูปต้องฝึกเดินธุดงค์กลางแสงแดดร้อนๆ วันละหลายสิบกิโลเมตร เพื่อฝึกฝนร่างกายให้แข็งแกร่ง ฝึกกิริยาท่าทางให้สงบเสงี่ยมสง่างาม และฝึกจิตใจให้สำรวมระวังต่อสิ่งสัมผัสภายนอก 




 บนกลีบดาวรวย, พระธุดงค์ซ้อมเดินใต้มหารัตนวิหารคด ผ่านบริเวณที่สาธุชนกำลังจัดเตรียมดาวรวยไว้โปรยต้อนรับ ทำให้ท่านตระหนักดีว่า จะต้องบำเพ็ญสมณธรรมให้สะอาดบริสุทธิ์เพื่อเป็นเนื้อนาบุญให้กับญาติโยม
  ดอกดาวรวยพร้อมต้อนรับพระธุดงค์ธรรมชัย ในวันที่ 2-27 มกราคมนี้แล้ว
      นอกจากนี้ท่านยังฝึกฝนทางด้านความแข็งแรงของร่างกาย โดยการซ้อมเดินธุดงค์ทุกวัน วันละกว่า 10 กิโลเมตร และฝึกกิริยามารยาทให้แลดูสงบเสงี่ยมสง่างาม ทำให้สาธุชนผู้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา พระธุดงค์แต่ละรูป ต่างตั้งใจรักษาศีลเจริญสมาธิภาวนามาโดยตลอดเวลาที่ท่านบวชและอบรมอยู่ และท่านได้มาถือธุดงควัตรได้ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมในช่วงที่จะเดินธุดงค์ ปฏิบัติตนถูกต้องตามพระธรรมวินัย ทุกรูปจึงมีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งบุญกุศลที่เกิดขึ้นนี้พระธุดงค์ทุกรูปน้อมถวายเป็นพุทธบูชาเพื่อฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ธรรม และศรัทธาสาธุชนที่มาต้อนรับก็พลอยได้บุญใหญ่กับพระธุดงค์ครั้งนี้อย่างมากด้วย 


      พระธุดงค์ทุกรูปจึงมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะออกเดินธุดงค์เป็นเนื้อนาบุญให้แก่สาธุชนที่มาคอยต้อนรับตลอดสองข้างทางอย่างแท้จริง

ธุดงค์


ธุดงค์คืออะไร
ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
ธุดงค์ พระธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
      
  การประพฤติ...ธุดงค์เป็นวิธีที่สามารถกำจัดกิเลสได้แบบเฉียบพลันทันตาเห็น และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ

รวมทั้งยังมีอานิสงส์ให้บารมี 10 ทัศ เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้น


      ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หมายถึง เจตนาความตั้งใจขัดเกลากิเลส, เจตจำนงความจงใจที่ทำให้ละกิเลสได้
        ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไปฉนั้น มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฏ
 
        ธุดงค์
 ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์ ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย ซึ่งต่างจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอย่างมาก เพราะธุดงค์ตามคัมภีร์นั้น ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องเดินเที่ยวไปทั่ว, ไม่จำเป็นต้องอยู่ป่า, ไม่มีการใช้กลด, ไม่รับเงินเด็ดขาด เป็นต้น.
ธุดงค์ ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์

ธุดงค์ พระธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
ธุดงควัตร 13 คืออะไร
        หลังออกพรรษาก็ถึงคราที่พระภิกษุสงฆ์จะเที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อหาสถานที่อันสัปปายะ เพื่อเจริญสมณธรรม รวมทั้งเผยแผ่ธรรม ซึ่งเรามักจะได้ยินว่าออก ‘ธุดงค์’ และมักจะนิยมเรียกพระสงฆ์ที่จาริกไปเช่นนี้ว่า ‘พระธุดงค์’
        ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ
หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)
      1.การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าของโยมโดยตรงทุกชนิด (วางใกล้เท้าได้)
      2.การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)
     1.การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน 
      2.ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป 
     3.ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม 
     4.ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร 
      5.ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม

 
ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส
ธุดงค์ พระธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ)
     1. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
      2. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
      3. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
      4. ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
      5. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
      6. ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน
        การถือธุดงค์บำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง
        อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระที่จาริกไป ตามสถานที่ต่างๆ อยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในที่ต่างๆ เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ
 
ธุดงค์ ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
ธุดงค์ พระธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์

พระในโครงการสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ท่านถือธุดงค์ข้อไหนบ้าง ?
 ตามพระวินัย ธุดงควัตรมีพุทธานุญาตไว้ 13 ข้อ พระในโครงการฯ ท่านถือธุดงควัตร 2 ข้อ คือ
      1) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำปานะ หรือน้ำดื่ม 
      2) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อเจ้าหน้าที่ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่
ทำไมมาเดินธุดงค์ในเมือง ไม่ไปเดินในป่า ?
การเดินธุดงค์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ  
     1. กระตุ้นให้เกิดกระแสการปฏิบัติธรรม ทำความดีในหมู่ประชาชน เพื่อขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ อัปมงคลทั้งหลาย ให้หมดไปจากแผ่นดิน โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม
     2. เป็นการเดินธุดงค์ตามเส้นทางที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านกำเนิด บรรลุธรรม เผยแผ่ธรรมครั้งแรก และละสังขาร เพื่อเป็นการตอกย้ำว่า จะดำเนินตามปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านในการสร้างบารมี
พระจะเดินธุดงค์ไปไหนและจะไปพักกันที่ไหนบ้าง?
        พระธุดงค์จะไปปฏิบัติธรรมตามเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ ค้นพบวิชชาธรรมกาย ระหว่างวันที่ 2 – 27 มกราคม 2555 โดยเริ่มต้นเดินจากวัดพระธรรมกาย พักปฏิบัติธรรมในสถานที่ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระมงคลเทพมุนีได้แก่ สถานที่เกิด สถานที่บวช สถานที่บรรลุธรรม สถานที่สอนธรรมะ เรื่อยไปจนถึงวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ แล้วเดินกลับมาที่วัดพระธรรมกาย (จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร )
การเดินธุดงค์แล้วได้อะไร , ทำไปทำไม
1.1 ฟื้นฟูจิตใจ  ผู้ประสบอุทกภัย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
1.2 รักษาธุดงควัตรของพระภิกษุ
1.3 ส่งเสริมศีลธรรมให้เกิดขึ้นระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
1.4 สร้างความสามัคคีกลมเกลียว ในชุมชน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน
1.5 ปลูกฝังเยาวชนและประชาชนทั่วไปให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
1.6 ฟื้นฟูธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา เมื่อรับกฐินแล้ว พระภิกษุจะออกเดินธุดงค์
1.7 ให้เกิดทัสสนานุตริยะ คือการเห็นอันประเสริฐแก่ผู้พบเห็นทั่วไป
1.8 สร้างความศรัทธาแก่ผู้ที่ยังไม่ศรัทธา และเพิ่มศรัทธายิ่ง ๆ ขึ้นสำหรับผู้ศรัทธาแล้ว
1.9 ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก
1.10 แสดงให้เห็นและตอกย้ำถึงความมีน้ำใจ ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ ดังคำพูดที่ว่า
       “มีทุกข์ไม่ทิ้งธรรม” ของคนไทย
ธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
โครงการเดินธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ (สด จนฺทสโร) ปีที่ 2
       
       สืบเนื่องจาก ในช่วงปีพุทธศักราช 2555 คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ องค์กรทางพระพุทธศาสนา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคีกว่า 40 องค์กร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัย ในระหว่างวันที่ 2-27 มกราคม พ.ศ. 2555 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร และธุดงค์ธรรมชัยอัญเชิญรูปหล่อหลวงปู่ทองคำพระมงคลเทพมุนี เมื่อวันที่ 2-6 เมษายน พ.ศ.2555 เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม ของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ ให้แผ่นดิน ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจาก ภาครัฐและเอกชน ประชาชนทุกภาคส่วน
     คณะกรรมการจัดงาน จึงได้ร่วมใจกันจัดกิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัยประจปี 2556 ในวันที่ 2-27 มกราคม พ.ศ.2556 โดยพระสงฆ์ทั่วประเทศ จำนวน 1,128 รูป เพื่อให้นักเรียนและประชาชน ได้มาร่วมทำกิจกรรมต้อนรับพระธุดงค์ และปฏิบัติธรรม ปลุกกระแสศีลธรรม ขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ อุปสรรคต่างๆ เสริมสร้างความเป็นสิริมงคล ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจ รวมทั้งยังได้ปลูกฝังให้นักเรียน และประชาชนได้ทากิจกรรมเพื่อสังคมที่ยกระดับความคิด และจิตใจให้สูงส่งด้วยศีลธรรม ฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับคืนสู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างยั่งยืน ฝึกให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามหลักธรรม อปจายนมัย ของพระพุทธเจ้า ทำให้สังคมไทย สงบสุข ยั่งยืนด้วยบารมีธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
วัตถุประสงค์ของธุดงค์ในครั้งนี้ 
     1 เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และ ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     2 สร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมที่มีคุณธรรมพื้นฐาน และเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง และพัฒนาสู่การเป็นกลุ่ม/เครือข่ายผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมถวายเป็นพระ ราชกุศล และน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
      3 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านศีลธรรมให้แก่เครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน ในทุกระดับของสังคม ทั่วประเทศ
     4 ฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธที่ดีงามกลับคืนสู่สังคมไทย ให้สมกับที่นานาประเทศเลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก
     5 ปลุกกระแสศีลธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และความเป็นสิริมงคลให้กับประชาชน

        ธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ มีการบุกเบิกเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยมีพระธุดงค์กว่า 200 รูป เดินธุดงค์เป็นระยะทางกว่า 16 กิโลเมตร เส้นทางธุดงค์เริ่มจากวัดพระธรรมกายมีปลายทางอยู่ที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี ตลอดระยะทางมีประชาชนและเด็กนักเรียนกว่า 10,000 คน เตรียมกลีบกุหลาบที่เด็ดจากดอกกุหลาบกว่า 70,000 ดอก โปรยต้อนรับตลอดเส้นทางเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
        คำว่า"มหาปูชนียาจารย์"ที่กล่าวถึงข้างต้นหมายถึงพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมและคุณวิเศษที่ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหมั่นฝึกฝนตนเองจนกระทั่งสามารถพิสูจน์ให้ชาวโลกได้รู้เห็นว่าพระพุทธศาสนาคือที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดจริงๆส่วน “เส้นทางมหาปูชนียาจารย์” หมายถึงเส้นทางซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ 6 แห่ง ในประวัติศาสตร์ ชีวิตของหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อันได้แก่
 1 สถานที่เกิด ตั้งอยู่บนแผ่นดินรูปดอกบัว ณ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบัน คณะศิษยานุศิษย์ได้ทำการก่อสร้างอนุสรณ์สถานพระมงคลเทพมุนีไว้ ณ ที่แห่งนี้
 2 สถานที่ออกบวช วัดสองพี่น้อง ตั้งอยู่ริมคลองสองพี่น้อง ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
 3 สถานที่บรรลุธรรม วัดโบสถ์(บน) บางคูเวียงตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
4 สถานที่เผยแผ่วิชชาธรรมกายครั้งแรก วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
5 สถานที่ปักหลักเผยแผ่วิชชาธรรมกาย วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี
6 สถานที่สืบสานวิชชาธรรมกาย (เพื่อสานต่อมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก) วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ปีพุทธศักราช 2556 ศักราชแห่งความสุขสมหวัง ร่วมพิธีโปรยกลีบดอกดาวรวยบนเส้นทางที่พระ 1,128 รูป
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ à¸<!-- WP_SPACEHOLDER -->าษีเจริญ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ 
        สถานที่สำคัญแต่ละแห่งบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์จะเป็นที่รวบรวมบันทึกประวัติการสร้างบารมีของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ตั้งแต่ปฐมวัย มัชฌิมวัย จนถึงปัจฉิมวัยและเป็นสถานที่ประดิษฐานหล่อทองคำแท้ของท่าน ซึ่งศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันหล่อขึ้น เพื่อแสดงถึงความเคารพรักและความกตัญญูต่อพระคุณอันไม่มีประมาณของท่าน
        การสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ จะทำให้อนุชนรุ่นหลังมีโอกาสศึกษาชีวประวัติอันงดงามและคำสอนอันล้ำค่าของพระเดชพระคุณหลวงปู่ได้โดยสะดวกเมื่อเห็นภาพการดำเนินชีวิตของท่านและได้เรียนรู้คำสอนของท่านแล้ว จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา สืบไป ดังนั้นการสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด
        การขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลายด้วยอำนาจของพระรัตนตรัยนั้น ในสมัยพุทธกาลก็เคยปรากฏขึ้นเช่นกัน ดังเช่น เมื่อครั้งที่กรุงไพศาลีประสบภัยพิบัติครั้งใหญ่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและล้มตายเป็นจำนวนมากครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาให้เสด็จไปโปรดชาวเมืองไพศาลี ขณะเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ พร้อมเหล่าภิกษุ 500 รูป พระเจ้าพิมพิสารได้เตรียมหนทางเสด็จของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการประดับธงชัย โปรยด้วยดอกไม้ 5 สี กั้นฉัตร 2 ชั้น บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นระยะทางประมาณ 5 โยชน์ แม้ชาวเมืองก็ยังร่วมมือกันทำความสะอาดถนนหนทาง พร้อมทั้งประดับประดาด้วยพวงดอกไม้อันประณีตงดงามเพื่อส่งเสด็จ
        เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงไพศาลี ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย ภัยพิบัติทั้งมวลก็มลายหายสูญสิริมงคลทั้งหลายบังเกิดขึ้นกับชาวเมืองไพศาลีโดยทั่วหน้ากัน
เรียนเชิญทุกท่าน
        ในระหว่างวันที่ 2 - 27 มกราคม 2556 ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมกันสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ด้วยการจัดเตรียมกลีบดอกดาวรวย นำไปโปรยปูลาดตลอดเส้นทางที่พระธุดงค์จำนวน 1,128  รูป จะเดินจาริกตามรอยพระเดชพระคุณหลวงปู่
        การโปรยดอกไม้ปูลาดทางเดินของพระธุดงค์ จะทำให้ทุกท่านมีส่วนในบุญของพระธุดงค์ทุกรูป ซึ่งนอกจากจะเป็นการเติมบุญใหญ่ให้แก่ตนเองตั้งแต่เริ่มต้นศักราชใหม่

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ดาวเรือง อิอิ



   ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง
ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย
แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ
ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง
   ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี
ชนิดของดาวเรือง
   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
   1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริการ ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่
      พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น
      พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น
      พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น
   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้มเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีกานดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่
พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น
พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น
   3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds)
เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องเมล็ดมรเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ
ดาวเรืองลุกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Seven
star) และโชว์โบ๊ต (Showboat) 
พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย
   1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม
   2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
   3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
   4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1 พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลือง
ขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูงพอสมควร
การขยายพันธุ์ดาวเรือง
   1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ
การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1
   การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ
การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
      1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม
      2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง
      3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้
   2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้
การปลูกดาวเรือง 
   การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้
   1. การเตรียมแปลงปลูก 
ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
   2. วิธีการปลูก
      1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
      2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
      3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา
   3.การปฏิบัติดูแลรักษา
      1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
      2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
      3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ
      4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ
   4. การตัดดอก
ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้น
ควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว
ศัตรูที่สำคัญของดาวเรือง
โรค 
โรคที่สำคัญและพบบ่อย ๆ คือ
   1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
   2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง
   3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง
แมลง
      1. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง
      2. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด
การใช้ประโยชน์
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
   1.ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ
   2.ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน)แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
   3.ปลูกเพื่อจำหน่าย
     3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก
     3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ และมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
     3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น เพาะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคารบ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน ก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้
     3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น
ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนและการตลาด
   1. ต้นทุนการผลิต การปลูกดาวเรืองในแปลงปลูกโดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่าเมล็ดพันธุ์(เมล็ดละประมาณ 60 สตางค์ 1 บาท ) ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน โดยเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตดาวเรืองประมาณไร่ละ 19,120 บาท แต่ถ้าเป็นการปลูกดาวเรืองในถุงพลาสติกหรือปลูกในกระถาง ต้นทุนจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ปลูก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนการผลิตประมาณกระถางละ 5-8 บาท
   2. ผลตอบแทนและราคาจำหน่าย การปลูกดาวเรืองในแปลง พื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 37,258 ดอก ราคาโดยเฉลี่ยประมาณดอกละ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนในการปลูกดาวเรืองประมาณไร่ละ 37,258 บาท
   3. ตลาดและแหล่งรับซื้อ แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลองตลาด ส่วนตลาดอื่น ๆ เช่น สวนจตุจักร นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน และตามศูนย์การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
ส่วนในต่างจังหวัดนั้น สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป และจะมีพ่อค้าไปรับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ ฯ